ถั่วพิสตาชิโอ
เมื่อเปรียบเทียบกับถั่วอื่น ๆ ถั่วพิสตาชิโอมีปริมาณไขมันและแคลอรี่ต่ำกว่าและมีระดับของใยอาหารสูงโดย 10% เป็นแบบไม่ละลายน้ำ และ 0.3% เป็นแบบใยอาหารที่ละลายน้ำได้โดยน้ำหนัก และพิสตาชิโอมีส่วนประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระ โดยสารต้านอนุมูลอิสระพบในถั่วพิสตาชิโอนั่นมีความหลากหลายมาก ได้แก่ แอนโทไซยานิน แคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ ไอโซฟลาโวน โทโคฟีรอล โปรแอนโธไซยานิดินส์ และเรสเวอราทรอล สารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้สามารถสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ และมีบทบาทสำคัญในเครือข่ายสารต้านอนุมูลอิสระทางชีวภาพและช่วยต้านการอักเสบ ถั่วพิสตาชิโอจึงติดอันดับใน 50 ที่มีอาหารสารต้านอนุมูลอิสระสูง พิสตาชิโอเป็นแหล่งโปรตีนพืชที่ดี ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 20% ของน้ำหนัก และเกือบ 2% เป็นแอลอาร์จินีน ซึ่งกรดอะมิโนชนิดนี้สามารถพบในถั่วอื่น ๆ ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของการความยืดหยุ่นของหลอดเลือดโดยการผลิตสารไนตริกออกไซด์ (NO) ภายในร่างกายซึ่งเป็นโมเลกุลที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นตัวควบคุมสำคัญของความยืดหดขยายของหลอดเลือด ในบรรดาถั่วทั้งหมดถั่วพิสตาชิโอนั้นอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิดเช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม ทองแดง แมงกานีส และพบวิตามินเค สูงโดยมีประมาณ 13.2 มิลลิกรัม / 100 กรัม และหลายงานวิจัยศึกษาถั่วพิสตาชิโอพบว่ามีประโยชน์ในการควบคุมความดันโลหิต (BP) และโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก เนื่องจากถั่วพิสตาชิโอเป็นแหล่งของแร่ธาตุ และยังมีปริมาณไฟโตสเตอรอลสูง 214 มิลลิกรัม / 100 กรัม ซึ่งแม้แต่ในอาหารที่เน้นพืชเป็นหลักและมีถั่วพิสตาชิโอเป็นส่วนประกอบในอาหารยังแสดงให้เห็นว่าระดับไฟโตสเตอรอลในถั่วพิสตาชิโอเพียงพอต่อบทบาททำงานร่วมกับกรดไขมันไม่อิ่มตัว และกรดไขมันอิ่มตัวที่ต่ำ ส่งผลให้สามารถรักษาระดับคลอเลสเตอรอลที่ดีต่อสุขภาพได้
ส่วนประกอบที่สำคัญ
น้ำนมพิสตาชิโอ
คุณประโยชน์ของวัตถุดิบ
น้ำนมพิสตาชิโอ
ข้อมูลโภชนาการ
น้ำนมพิสตาชิโอ
คุณประโยชน์ของคอลลาเจนเปปไทด์
น้ำนมพิสตาชิโอ
คอลลาเจนคืออะไร?
คอลลาเจนคิดเป็น 25-35% ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกายที่มีกระดูกสันหลัง คอลลาเจนมีความสำคัญต่อการรักษาโครงสร้างและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น ผิวหนัง หลอดเลือด กระดูกอ่อน และกระดูก คอลลาเจนทำหน้าที่ติดต่อระหว่างเซลล์ผ่านหน่วยรับความรู้สึกโดย ควบคุมการเพิ่มจำนวนของเซลล์ การเจริญเปลี่ยนสภาพของเซลล์ และการเคลื่อนที่ของเซลล์ คอลลาเจนถูกสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนหลักสามชนิด ได้แก่ ไกลซีน (GLY) 33% โพรลีน (PRO)และ ไฮดรอกซีโพรลีน (HYP)22% เรียงเป็นสายพอลิเพปไทด์และพันวนรอบกันเป็นเกลียวสามสาย ดังนั้นคอลลาเจนจึงมีรูปร่างเป็นแท่งยาวและมีลักษณะเป็นไฟเบอร์ที่แน่นหนาเพื่อเหมาะสมในการทำหน้าที่เสริมสร้างกระดูกอ่อน กระดูกและผิวหนังเพื่อรักษาโครงสร้างของร่างกาย ในบริเวณโครงสร้างเกลียวของคอลลาเจนประกอบด้วยการมีตำแหน่งซ้ำของ ไกลซีน -X-Y (GLY-X-Y) โดยโพรลีน(PRO)สามารถอยู่ในตำแหน่ง XหรือYก็ได้ในขณะที่ไฮดรอกซีโพรลีน (HYP)จะอยู่เฉพาะตำแหน่ง Yเท่านั่น ดังนั้นโครงสร้างแบบ GLY-PRO-Y GLY-X-PRO และ GLY-PRO-HYP ซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเสถียรภาพของโครงสร้างคอลลาเจน ไฮดรอกซีโพรลีนเป็นอนุพันธ์ที่เกิดจากการไฮดรอกซิเลชันของกรดอะมิโนโพรลีน ซึ่งต้องการวิตามินซีเป็นปัจจัยร่วม การขาดวิตามินซีทำให้การเปลี่ยนโพรลีนให้เป็นไฮดรอกซีโพรลีนลดลงส่งผลให้ความเสถียรของคอลลาเจนลดลง ดังนั้นไฮดรอกซีโพรลีนจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโปรตีนคอลลาเจนและมีบทบาทสำคัญในความมั่นคงของโครงสร้างเกลียวสามสาย และจึงใช้เกณฑ์กำหนดปริมาณไฮดรอกซีโพรลีนให้เป็นเกณฑ์กำหนดปริมาณของคอลลาเจน ปัจจุบันมีคอลลาเจนทั้งหมด 29 ชนิด ผลิตภัณฑ์แมคเกรนต้าเลือกคอลลาเจนชนิดที่ 1 จากปลานิลน้ำจืดประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคอลลาเจนชนิดที่ 1จะพบมากในผิวหนัง กระดูก ฟัน เอ็นกล้ามเนื้อ หลอดเลือด เอ็นยึดข้อและอวัยวะ สามเหตุผลหลักที่เราเลือกใช้คอลลาเจนจากปลานิลน้ำจืดเป็นวัตถุดิบแทนคอลลาเจนจากวัวและสุกรคือ ข้อแรกวัวเป็นพาหะของโรควัวบ้า สุกรเป็นพาหะของโรคไข้หวัดหมู เหตุผลที่สองสำหรับผู้ที่แพ้อาหารทะเลและข้อที่สามเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
คอลลาเจนเปปไทด์คืออะไร?
คอลลาเจนที่ถูกทำลายโครงสร้างด้วยความร้อนทำให้เกิดสารที่เรียกว่าเจลาตินที่สามารถละลายน้ำได้ เจลาตินเมื่อถูกย่อยด้วยเอมไซม์ที่อุณหภูมิบ่มเฉพาะเกิดสารที่เรียกว่า คอลลาเจนไฮโดรไลเสต หรือ คอลลาเจนเปปไทด์ซึ่งสามารถละลายน้ำได้มากกว่าเจลาติน คอลลาเจนเปปไทด์คือชีวปริมาณออกฤทธิ์ของคอลลาเจน การย่อยสลายด้วยเอมไซม์จะทำลายพันธะในสายพอลิเปปไทด์เพื่อให้ได้เปปไทด์จำนวนมาก น้ำหนักโมเลกุลของคอลลาเจนเปปไทด์ที่ได้จากการย่อยจะมีขนาดเล็กมาก (0.3-8 กิโลดัลตัน) เมื่อเทียบกับน้ำหนักโมเลกุลของคอลลาเจน ( 285-300 กิโลดัลตัน ) การย่อยนี้ไม่เพียงส่งผลต่อขนาดของเปปไทด์แต่ยังส่งผลต่อคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์และชีวภาพ ด้วยน้ำหนักโมเลกุลขนาดเล็กทำให้ความหนืดต่ำลงและสามารถละลายน้ำได้ดีมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คอลลาเจนเปปไทด์ที่ถูกย่อยแล้วสามารถดูดซึมได้ง่ายในระบบทางเดินอาหาร ด้วยปริมาณกรดอะมิโนที่จำเพาะและไดเปปไทด์ที่มี ไฮดรอกซีโพรลีน-โพรลีน และไฮดรอกซีโพรลีน-ไกลซีน จำนวนมากจึงช่วยส่งเสริมสุขภาพของผิวหนัง ข้อต่อและกระดูก
คอลลาเจนเปปไทด์มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผลการวิจัยที่เพิ่มขึ้นบ่งชี้ถึงความหลากหลายของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบในคอลลาเจนไฮโดรไลเสตหรือคอลลาเจนเปปไทด์ นอกจากนี้ฤทธิ์ทางชีวภาพของคอลลาเจนเปปไทด์บางอย่างยังได้รับการยืนยันผลจากสัตว์ทดลองและการทดลองทางคลินิกในมนุษย์ดังนี้
1. สุขภาพของกระดูกและข้อ
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าคอลลาเจนเปปไทด์แสดงผลการรักษาในเชิงบวกต่อโรคข้อเสื่อม จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าคอลลาเจนไฮโดรไลเสต/เปปไทด์กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีโอไกลแคนและคอลลาเจนในกระดูกมนุษย์ ในขณะเดียวกันการศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าการบริโภคคอลลาเจนเปปไทด์ ( 5กรัม/วัน ) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สามารถนำไปสู่การบรรเทาอาการปวดข้อและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนชนิดที่สองขึ้นใหม่และมีการสังเคราะห์โปรตีโอไกลแคนในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันกระดูกอ่อนในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม
2. สุขภาพผิว
คอลลาเจนเปปไทด์สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนและการเคลื่อนไหวของไฟโบรบลาสต์เซลล์ เพิ่มความหนาแน่นและเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยคอลลาเจน ส่งเสริมการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกยกระดับการแสดงออกของคอลลาเจนชนิดที่หนึ่งและสี่ ผลการทดลองทางคลินิกหลายฉบับได้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของคอลลาเจนเปปไทด์ต่อคุณสมบัติของผิวรวมถึงความชุ่มชื้น ความยืดหยุ่น และการลดลงริ้วรอยของผิว
3. แหล่งโปรตีน
คอลลาเจนเปปไทด์เป็นแหล่งโปรตีนที่ปราศจากไขมันและคาร์โบไฮเดรต พร้อมคุณค่าทางโภชนาการและกรดอะมิโนที่มีเอกลักษณ์จำเพาะเพื่อช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนในมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมโปรตีนซึ่งมีความสำคัญต่ออาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะการรับประทานอาหารได้น้อย
4. ลดความดันโลหิตและยับยั้งแองจิโอเทนซินวัน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์
ความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการพัฒนาเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด แองจิโอเทนซินวัน-คอนเวอร์ติง เอมไซม์ (ACE) มีบทบาททางสรีรวิทยาที่สำคัญในการควบคุมความดันโลหิตและสภาวะสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ดังนั้นการยับยั้งการทำงานของ ACE จึงเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการรักษาความดันโลหิตสูง มีคอลลาเจนเปปไทด์จำนวนมากที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงาน ACE ซึ่งส่วนใหญ่สกัดมาจากหนังปลา โดยคุณสมบัติการยับยั้งการทำงาน ACE ของคอลลาเจนเปปไทด์นั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับองค์ประกอบลักษณะความจำเพาะในกรดอะมิโน นอกจากนี้คอลลาเจนเปปไทด์ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อบุโพรงผนังหลอดเลือดด้วย