m

Smoothie Bar

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. In vulputate tellus justo, at vehicula tortor facilisis sit amet. Aliquam a tortor ac mauris auctor.

m
Image Alt

ปรับพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงความดันโลหิตสูง

ปรับพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงความดันโลหิตสูง

ปรับพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงความดันโลหิตสูง

ปรับพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่เป็น ความดันโลหิตสูง ควรดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ และนี่คือ 7 วิธีดูแลตัวเองง่ายๆ สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

ปรับพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงความดันโลหิตสูง

อันตรายจากความดันโลหิตสูง

ความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง หากไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้จะทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ ได้แก่ สมอง หัวใจ หลอดเลือด ตา และไต โดยสังเกตอาการที่เกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ดังนี้

  • สมอง จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ หรือหลอดเลือดในสมองแตก มีเลือดออกในเนื้อสมองส่งผลให้เกิดอัมพาต อัมพฤกษ์ พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง
  • หัวใจ ความดันโลหิตสูงจะมีผลต่อหัวใจ 2 ทาง คือ ทำให้หัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาตัวและแข็งตัวขึ้น เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ จะมีอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลวเหนื่อยหอบ
  • หลอดเลือด ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบ หรือหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง หรือเสียชีวิตเฉียบพลันได้
  • ตา ความดันโลหิตสูงมีผลต่อหลอดเลือดที่ตา เช่น เลือดออกที่จอประสาทตา หลอดเลือดเล็กที่จอประสาทตาอุดตัน หรือจอประสาทตาหลุดลอกออกได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ หรืออาจมีอาการตามัว จนถึงตาบอดได้
  • ไต ความดันโลหิตสูงมีผลต่อหลอดเลือดที่ไต ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มแรกของภาวะไตวายเรื้อรัง คือ ปัสสาวะตอนกลางคืน มากกว่า 3 ครั้งต่อคืน มีอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรงจากภาวะซีด มักพบในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง หรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึมลงในผู้ป่วยไตวายระยะท้ายๆ ปัสสาวะมีสีขุ่นและเป็นฟองมาก
ปรับพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงความดันโลหิตสูง

7 วิธีดูแลตัวเองง่ายๆ สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

1. รับประทานอาหารที่ไม่เค็มจัด

ควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดองหรืออาหารแปรรูป เช่น ปลาเค็ม ปลาร้า ไข่เค็ม ผลไม้ดอง อาหารกระป๋อง และพยายามหลีกเลี่ยงการปรุงแต่งรส เช่น เกลือ น้ำปลา ซอส ผงชูรส

2. ทานผักผลไม้

ผัก ผลไม้ เป็นแหล่งอาหารที่มีเส้นใยสูง อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเบต้า แคโรทีน การบริโภคผักและผลไม้หลากหลายชนิด จึงช่วงบำรุงส่งเสริมให้ร่างกายมีสุขภาพดี

3. ผ่อนคลายความเครียด

กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้ ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่จะมีกิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจจะช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูงได้ดีทีเดียว

4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ควรหมั่นออกกำลังกายประมาณวันละ 30 นาทีก็จะช่วยให้ความดันเลือดลดลง โดยเลือกออกกำลังกายแบบเบาไปจนถึงปานกลาง ไม่ควรออกกำลังกายแบบหักโหมมากเกินไป

5. ควบคุมน้ำหนักตัว

ควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) ซึ่งควรอยู่ระหว่าง 18.5 – 22.9 กก./ เมตร² หากมากกว่า 23 แสดงว่าน้ำหนักเกินมีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน

6. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ควรลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะยิ่งกระตุ้นให้ความดันเลือดสูงขึ้น ดังนั้นควรงดการดื่มแอลกอฮอล์จึงจะดีที่สุด และเปลี่ยนมาดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ เช่น นมอัลมอนด์ น้ำผลไม้สดไม่ใส่น้ำตาล

7. พักผ่อนให้เพียงพอ

การอดหลับอดนอน นอนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความเครียดสะสม และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญของภาวะความดันโลหิตสูงอีกด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงสุขภาพจิต และสุขภาพกายโดยทั่วไปอื่นๆ อีกด้วย ฉะนั้นควรหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน

นมอัลมอนด์

เพียงแค่ปรับพฤติกรรมและทำตามคำแนะนำทั้ง 7 ข้อนี้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ไม่ยากแถมยังได้สุขภาพดีอีกด้วย แต่หากใครที่อยากได้ตัวช่วยเสริมในการดูแลสุขภาพเราขอแนะนำเครื่องดื่มนมถั่วเพื่อสุขภาพ Maxgrainta นมอัลมอนด์ที่คัดพิเศษ คัดสรรวัตถุดิบเพื่อนมอัลมอนด์ที่มีคุณภาพอย่าง น้ำแร่ธรรมชาติ น้ำตาลดอกมะพร้าวออร์แกนิค โปรตีนถั่วลันเตาสีเหลืองจากฝรั่งเศส มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี นมอัลมอนด์มีปริมาณโซเดียมต่ำ ไม่มีน้ำตาลทรายและไขมันทรานส์อีกด้วย เรามีประโยชน์อีกมากมายรอคุณอยู่ที่ www.maxgrainta.com แล้วพบสาระที่มีประโยชน์และหน้าสนใจได้ในบทความต่อไปนะคะ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Tel : 098-919-2890

Line ID : maxgrainta

Facebook : MaxGrainta

E-mail : maxgrainta@gmail.com

Facebook